Advertise

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[แนวข้อสอบกลางภาค] วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน

[แนวข้อสอบกลางภาค] วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ม.4 [54/1]
สิ่งที่ควรทบทวน
  • ความหมาย คุณสมบัติ หน่วย ของข้อมูล 
  • หน่วยของข้อมูล [กิโลไบต์,จิกะไบต์,บิต,ไบต์,เมกะไบต์,ยอตตะไบต์,เวิร์ด (หน่วยข้อมูล),เซตตะไบต์,เทระไบต์,เพตะไบต์,เอกซะไบต์] 
  • ความหมายของ OS
    • OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ
  • องค์ประกอบของสารสนเทศ
    • ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์
    • ซอฟต์แวร์
    • ข้อมูล
    • บุคลากร
    • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ
    • ข้อมูล (Data) ข้อมูล คือ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นประจำวันในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า ชื่อที่อยู่ลูกค้า ยอดขายในแต่ละวัน เป็นต้น ข้อมูลอาจเป็นได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ รูปถ่าย หรือแม้กระทั่งเสียง
    • สารสนเทศ (Information) สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้  สารสนเทศที่ดี จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และช่วยให้การประมาณการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือยอดขายใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุด
  • การเก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
  • โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล
  • การจัดเก็บไฟล์แบบ “เรคคอร์ด” 
    • เก็บเป็นเรคคอร์ด ซึ่งเรคคอร์ดจะมีขนาดคงที่สามารถจะอ่านหรือเขียนที่เรคคอร์ดไหนก็ได้ แต่ไม่สามารถเพิ่มหรือลบเรคคอร์ดกลางๆ ได้ วิธีนี้ใช้ใน CP/M
  • การประมวลผลข้อมูล 
  • การทำงานของคอมพิวเตอร์ 
  • ส่วนประกอบ Hardware 
  • หน้าที่สำคัญที่สุดของ Soflwaer 
  • อุกรณ์ Input 
  • หน่วยความจำแบบ RAM ROM 
  • จอภาพแบบ CRT 
  • หน้าที่ของ CPU 
  • ระบบเครื่อข่ายแบบ “Bus” 
  • คำสั่งที่ตรวจสอบข้อผิดพลาดของดิสก์ 
  • ความหมาย Format
    • การจัดข้อมูล (ทางคอมพิวเตอร์) Related. การจัดรูปแบบข้อมูล

    วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    [ชีววิทยา] ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม

    1.gene
    ยีน : สารประกอบพวก DNA ที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

    2.allele
    อัลลีล : ยีนที่เป็นคู่กันหรือแสดงลักษณะเดียวกัน

    3.gamete
    เซลสืบพันธุ์ : เซลที่มีจำนวนโครโมโซม 1 ชุด ทำหน้าที่สืบพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ


    4.phenotype
    ฟีโนไทป์ : ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นดโยการควบคุม ของยีน


    5.genotype
    ยีโนไทป์ : แบบของยีนหรือชุดของอัลลีล ซึ่งควบคุมลักษณะทาง พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย


    6.Homologous chromosome
    เป็นคู่ของโครโมโซมที่มียีนเหมือนๆกัน ซึ่งมันจะอยู่เป็นคู่ Homologous จะแยกออกจากกันก็ต่อเมื่อมีการแบ่งเซลล์ ซึ่งมันจะถูกดึงเข้าสู่ขั้วเซลล์แต่ละขั้วโดย spindle fiber ในระยะProphase I โครโมโซมจะมี 46 แท่งเท่าเดิม แต่คู่ Homologous มันจะจับคู่กันแล้วเห็นเป็นรูปทรงที่เรียกว่า Tetrad ดังนั้นในระยะนี้จะมีโครโมโซม 23คู่ หลังจากจบmeiosis I แล้ว จะได้ 2 เซลล์ที่มีโครโมโซม 23 แท่ง


    7.homozygous gene
    ยีโฮโมไซกัส : ยีนคู่ใดคู่หนึ่งที่มียีนที่แสดงลักษณะลักษณะเด่นอยู่ด้วยกัน หรือเป็นยีน ที่แสดงลักษณะด้อยอยู่ด้วยกัน



    8.dominant
    ลักษณะเด่น : ลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกมาได้แม้ยีนที่ควบคุมลักษณะนั้นจะเป็นยีนเฮเตอโรไซกัส



    9.recessive
    ลักษณะด้อย : ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามาถแสดงออกมาได้ เมื่อยีนที่ควบคุม ลักษณะนั้นเป็นยีนเฮเตอโรไซกัส แต่ถ้าเป็นยีนโอโมไซกัสก็จะแสดงลักษณะนั้นออกมาได้



    10.heterozygous gene
    ยีนเฮเตอโรไซกัส : ยีนคู่ใดคู่หนึ่งที่มียีนที่แสดงลักษณะเด่นกับยีนที่ แสดงลักษณะด้อยอยู่ด้วยกัน


    11.ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete dominance) หมายถึงลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene
    เด่นสามารถข่ม gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์


    12.ข่มไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) การแสดงออกของพันธุกรรมที่แอลลีลหนึ่งไม่สามารถข่ม
    อีกแอลลีลหนึ่งได้


    13.ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละยีนที่เป็นแอลลีล (allele)กันมีลักษณะเด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรมพันธุ์ของหมู่เลือด AB


    14.การทดสอบพันธุกรรม (Test Cross)
    Test Cross คือ การนำสิ่งมีชีวิตที่สงสัยว่าเป็นลักษณะเด่นหรือไม่ไปผสมกับลักษณะด้อยของสิ่งมีชีวิตนั้น(tester) แล้วสังเกตุอัตราส่วนของลูกที่ได้


    15.การผสมกลับ (Back Cross)
    Backcross (การผสมกลับ) : เหมือนกับ Test Cross แต่เป็นการนำรุ่น F1 กลับไปผสมกับพ่อหรือแม่

    16.คาริโอไทป์ (karyotype)
    คาริโอไทป์ คือ การจัดลำดับโครโมโซมตามขนาดและรูปร่างโดยอาศัยตำแหน่งต่างๆบนโครโมโซมเพื่อช่วย ศึกษารายละเอียดของโครโมโซมแต่ละแท่ง นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกประเภทคาริโอไทป์ได้หลายวิธี แต่ที่ทำ การศึกษาครั้งนี้คือ การจำแนกประเภทคาริโอไทป์ โดยดูจากขนาดของโครโมโซมและชนิดของโครโมโซมเป็นหลัก ซึ่ง Stebbins (1950)ได้จำแนกคาริโอไทป์ออกเป็นสองประเภทคือ symmetrical และ asymmetrical karyotype


    17.Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียงลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์ โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง 2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid crosses

    18.Dihybrid crosses
    เป็นการผสมพันธุ์ โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง 2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า

    19.เซลล์สืบพันธุ์ (Sex cell) เซลล์เหล่านี้เมื่อเกิดมิวเทชันแล้ว จะถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด และส่งผลต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตด้วย

    20.egg cell
    เซลไข่ : เซลสืบพันธุ์เพศเมียของสิ่งมีชีวิต มีขนาดต่างๆ กัน เช่น เซลไข่ของนกและสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดใหญ่ เนื่อจากมีไข่แดง ส่วนเซลไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และพืชมีขนาดเล็กมาก

    21.sperm
    ตัวอสุจิ : เซลสืบพันธุ์เพศผู้ของสัตว์มีขนาดเล็กมาก และมีลักษณะต่าง ๆ กันในสัตว์แต่ ละชนิด ตัวอสุจิสามารถเคลื่อนที่ได้ ส่วนมากมีหางยาวช่วนในการเคลื่อนที่


    22.autosome
    ออโตโซม : โครโมโซมที่ไม่ใช่โครโมโซมเพศ


    23.sex chromosome
    โครโมโซมเพศ : โครโมโซมที่กำหนดเพศของสิ่งมีชีวิตมีอยู่ 1 คู่ ในคนโครโมโซมเพศทั้ง คู่ของหญิงจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่โครโมโซมของชายจะมีลักษณะต่างกัน

    24.ลูก F1 (first filial generation) ลูกรุ่นที่ 1 ลูกที่เกิดจากการแต่งงานหรือผสมข้ามพันธุ์รุ่นแรกหรือ
    ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน

    25.ลูก F2 (second filial generation) ลูกรุ่นที่ 2 ลูกที่เกิดจากการผสมภายในลูกรุ่นที่ 1 (ลูก F1)
    หรือรุ่นหลาน

    26.parent type ? หาไม่ได้

    27.multiple alleles ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 1 คู่

    28.มิวเทชัน (mutation) หรือ การกลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้

    29.zygote
    ไซโกต : เซลที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเซลสืบพันธุ์เพศผู้กับเซลสืบพันธุ์เพศเมีย พร้อมที่จะเจริญต่อไปเป็นเอมบริโอ ในสัตว์ชั้นสูงไซโกตก็คือ ไข่ที่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิ แล้ว

    30.ความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variation)
    สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน ย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิต ต่างสปีชีส์กันหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างกันน้อยกว่า สิ่งมีชีวิต ต่างชนิดกัน ความแตกต่างอันเนื่องจากมีลักษณะพันธุการรมแตกต่างกัน

    วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    [เคมี] การเกิดปิโตรเลียม


     - ปิโตรเลียมเกิดจากการทับถมและสลายตัวของอินทรียสารจากพืชและสัตว์

    เวลา + ความดัน + ความร้อนสูง + ปริมาณออกซิเจนจำกัด



    สลายตัวได้

    แก๊สธรรมชาติและน้ำมันดิบแทรกอยู่ระหว่างชั้นหินที่มีรูพรุน




    การสำรวจปิโตรเลียม



    ผลการสำรวจ

    • ผลการสำรวจเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการขุดเจาะ
    • การขุดเจาะต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่า
    • หากความดันสูงปิโตรเลียมจะไหลออกมาเอง
    • หากความดันต่ำต้องเพิ่มแรงดันจากภายนอก


    การกลั่นน้ำมันดิบ




    ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม สมบัติ และการใช้ประโยชน์ 


    ผลิตภัณฑ์ที่ได้
    จุดเดือด (OC)
    สถานะ
    จำนวน C
    การใช้ประโยชน์
    แก๊สปิโตรเลียม
    < 30
    แก๊ส
    1 – 4
    ทำสารเคมี วัสดุสังเคราะห์ เชื้อเพลิงแก๊สหุงต้ม
    แนฟทาเบา
    30 – 110
    ของเหลว
    5 – 7
    น้ำมันเบนซิน ตัวทำละลาย
    แนฟทาหนัก
    65 – 170
    ของเหลว
    6 – 12
    น้ำมันเบนซิน แนฟทาหนัก
    น้ำมันก๊าด
    170 – 250
    ของเหลว
    10 – 19
    น้ำมันก๊าด เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ไอพ่น และตะเกียง
    น้ำมันดีเซล
    250 – 340
    ของเหลว
    14– 19
    เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล
    น้ำมันหล่อลื่น
    > 350
    ของเหลว
    19 – 35
    น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเครื่อง
    ไข
    > 500
    ของแข็ง
    > 35
    ใช้ทำเทียนไข เครื่องสำอาง ยาขัดมัน ผลิตผงซักฟอก
    น้ำมันเตา
    > 500
    ของเหลวหนืด
    > 35
    เชื้อเพลิงเครื่องจักร
    ยางมะตอย
    > 500
    ของเหลวหนืด
    > 35
    ยางมะตอย เป็นของแข็งที่อ่อนตัวและเหนียวหนืดเมื่อถูกความร้อน ใช้เป็นวัสดุกันซึม


    การปรับปรุงโครงสร้างของโมเลกุล

    1. กระบวนการแตกสลาย
    2. กระบวนการรีฟอร์มมิง 


    3. กระบวนการแอลคิเลชัน

    4. กระบวนการโอลิโกเมอไรเซชัน


    เลขออกเทน

    • ไอโซออกเทน เป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซีน การระเบิดและจังหวะในกระบอกสูบเหมาะสม
    • เลขออกเทน เป็นตัวกำหนดคุณภาพน้ำมัน โดย น้ำมันเบนซีนที่มีสมบัติการเผาไหม้เช่นเดียวกับไอโวออกเทนมีเลขออกเทนเป็น 100 ส่วนน้ำมันเบนซีนที่มีสมบัตืในการเผาไหม้เชนเดียวกับเฮปเทนโซ่ตรงมีเลขออกเทนเป็น 0
    • ออกเทนเท่ากับ 95 มีสมบัติในการเผาไหม้เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมไอโซออกเทนร้อยละ 95 กับเฮปเทนร้อยละ 5

    การเพิ่มค่าออกเทน
    ¢- เติมสาร

    เลขซีเทน
    • เป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล
    • กำหนด ซีเทน มีเลขซีเทนเท่ากับ 100 แอลฟาเมทิลแนฟทาลีนมีเลขซีเทนเท่ากับ 0
    a-methylnapthalenemn                                                       


    วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    [ชีววิทยา] อาวุธชีวภาพ

         อาวุธชีวภาพ (Biological Weapon) คืออาวุธที่ได้จากสิ่งมีชีวิตซึ่งครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตเอง สารพิษจากสิ่งมีชีวิต และ ฮอร์โมน หรือ สารอื่นที่สิ่งมีชีวิตผลิตขึ้น หรือที่เราเรียกว่า "อาวุธเชื้อโรค" หรือสารพิษที่สกัด มาจากจุลินทรีย์ อาวุธชีวภาพเป็นอาวุธที่ผลิตได้ง่าย และราคาถูกกว่าอาวุธร้ายแรงประเภทอื่น หรืออาวุธนิวเคลียร์ มนุษย์รู้จักผลิตอาวุธเชื้อโรค การเกิดโรคระบาด ที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้ครั้งละมากๆ เช่นการเกิดโรคไข้ทรพิษ หรือมฤตยูดำ ที่ระบาดในยุโรป เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 14 และมีผู้เสียชีวิตครั้งนั้นประมาณ 75 ล้านคน หรือการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก เมื่อ ปี ค.ศ. 1918 มีผู้เสียชีวิตถึง 22 ล้านคน อันตรายของมันไม่ได้ด้อยไปกว่าระเบิดปรมณูเลย

         เมื่อโรคระบาดสามารถทำลายชีวิตผู้คนได้เป็นจำนวนมาก มนุษย์ชาติชั่วไร้ปราณีบางพวก จึงได้คิดเลียนแบบธรรมชาติ โดยการเพาะเชื้อโรคบางชนิดไว้ใช้ เพื่อการสงคราม โดยอาจจะใช้จุลินทรีย์เอง หรืออาจะสกัด เอาเฉพาะสารตัวใดตัวหนึ่งที่สำคัญ และมีฤทธิ์พอที่ทำให้เจ็บป่วยถึงแก่ความตายได้ หรือเป็นพิษต่อมนุษย์ การใช้อาวุธชีวภาพเกิดขึ้นครั้งแรกในอาณาจักรโรมัน โดยการนำสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคตายไปทิ้งไว้ในแหล่งน้ำของข้าศึก เมื่อข้าศึกใช้น้ำก็จะเกิดการเจ็บป่วย เป็นการตัดกำลังรบและทำลายขวัญได้เป็นอย่างดี นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า มนุษย์เรารู้จักใช้อาวุธชนิดนี้กันมานานนับพันปีแล้ว ไม่ใช่ของใหม่เลย จนปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการคิดค้นกันไม่สิ้นสุด นั่นเพราะมนุษย์หน้าโง่ทั้งหลายยังคงฆ่ากันไม่เสร็จนั่นเอง
    อาวุธชีวภาพในปัจจุบันยังคงไว้ซึ่งหลักการเดิมๆ แต่ได้พัฒนาหาวิธีการใช้ที่แตกต่างออกไปจากอดีต คือสามารถใช้ได้สะดวกขึ้น ได้ผลมากขึ้น คือฆ่ากันได้มากขึ้นนั่นเอง มีการเพาะเลี้ยงเชื้อโรคต่างๆเป็นจำนวนมาก และสามารถที่จะเก็บรักษาไว้ได้จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องการใช้ ซึ่งอาจจะใช้วิธีโปรยลงมาจากเครื่องบิน หรือติดไปกับหัวรบขีปนาวุธยิงสู่เป้าหมาย 

         ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การผลิตอาวุธชีวภาพนั้นทำได้ไม่ยากเลย ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ต้นทุนก็ไม่แพง ประเทศที่ยากจนสามารถผลิตได้เอง อาวุธชนิดนี้จึงเป็นขวัญใจคนยาก และที่ผ่านมาเคยมีการตรวจพบแหล่งอาวุธชีวภาพในอิรัก เมื่อปี ค.ศ. 1985 มีทั้งอาวุธเชื้อโรค และสารพิษที่ได้จากเชื้อโรค เช่น เชื้อแอนแทรกซ์ ซึ่งเป็นแบคมีเรียชนิดหนึ่ง พิษบอตทูลินัม ที่เป็นสารพิษที่ได้จากแบคทีเรีย พิษอะฟลาทอกซิน สารพิษที่ได้จากเชื้อรา และไรซิน สารพิษที่สกัดมาจากเม็ดละหุ่ง ครั้งนั้นเองที่ทำให้โลกต้องตื่นตะหนกและหันกลับมาสนใจ และคิดหาทางป้องกันในเจ้าอาวุธชีวภาพ ที่ค้นคิดโดยมนุษย์ และเป้าหมายคือสังหารมนุษย์ด้วยกัน มันก็แค่การค้นคิดที่จะหาวิธีฆ่ากันให้ได้คราวละมากๆ เพื่อช่วงชิงการได้เปรียบ เท่านั้นเอง

         เชื้อโรคแอนแทรกซ์ (anthrax) นับว่าเป็นเชื้อที่เหมาะแก่การนำมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพมากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดโรคระบาดรุนแรง และมีศักยภาพสูงในการสังหารมนุษย์ยิ่งนัก
    โรคแอนแทรกซ์ จริงๆแล้วเป็นเชื้อที่ระบาดร้ายแรงในปศุสัตว์ เช่น แพะ แกะ วัว และม้า และอื่นๆ สมัยก่อนพบได้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับปศุสัตว์ และอุ๖สาหกรรมขนแกะ โดยได้รับเชื้อโดยตรงมาจากสัตว์อีกทีหนึ่ง ต่อมาได้มีการค้นพบวัคซีนป้องกัน โรคนี้จึงสามารถควบคุมได้ และไม่ค่อยปรากฎผู้ที่เป็นโรคนี้อีก ในสหรัฐฯผู้ป่วยเป็นโรคนี้ตามธรรมชาติรายล่าสุดเป็นสัตวแพทย์ เพราะทำงานคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นโรคนี้ และพบในปี ค.ศ. 1992 หลังจากนั้นที่พบส่วนใหญ่สันนิฐานว่า เป็นการกระทำโดยฝีมือผู้ก่อการร้ายแทบทั้งสิ้น 

         โรคแอนแทรกซ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า แบซิลลัส แอนทราซิล ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทแกรมบวก (เป็นวิธีการทางห้องทดลอง ที่ใช้ในการจำแนกประเภทแบคทีเรียโดยการย้อมสี) แบคทีเรียชนิดนี้มีการสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ส สปอร์สของมันเปรียบได้กับละอองเรณูของเกสรดอกไม้ สามารถล่องลอยไปในอากาศได้ แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แลัเมื่อตกเข้าไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สปอร์สนี้ก็จะเจริญเป็นแบคทีเรีย และเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งยังมีการสร้างเกราะหุ้มอีกชั้นหนึ่งด้วย มันจึงได้ทนทานในทุกสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
    โรคแอนแทรกซ์มีระยะฟักตัวสั้น คือราว 1-5 วัน โดยทั่วไปมักจะแค่ 2 วัน จึงแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่เบื่อโลกและต้องการรับเชื้อนี้ สามารถรับได้ 2 ทางคือ ทางสปอร์สของเชื้อแอนแทรกซ์ ซึ่งลอยอยู่ในอากาศหรือตกอยู่ตามพื้นดิน เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบเลือด ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ หายใจเอาสปอร์สเข้าไป ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ เลือกเอานะครับ....
    โรคแอนแทรกซ์ ที่ติดเชื้อทางบาดแผลจะมีอัตราการตายราว 20 เปอร์เซนต์ หากติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจอัตราการตายจะอยู่ที่ ร้อยละ 80 เพื่อให้เข้าใจง่ายเข้าคือ ผู้ป่วย 100 คน จะรอด 20 คน
    หากไม่อยากตายก่อนวัยอันสมควรสารมารถรักษาได้ โดยการใช้ยาปฎิชีวนะ และต้องกระทำเป็นการเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้นานวันจนอาการของโรคแสดงออกอย่งชัดเจน จะไม่เป็นผล คือตายสถานเดียว... ผู้ป่วยติดเชื้อแอนแทรกซ์ ในระบบทางเดินหาย อาการเริ่มแรกจะคล้ายไข้หวัด น้ำมูกไหล จากนั้นอาการจะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะช็อกหมดสติในที่สุด
    การป้องกันสามารถทำได้ โดยการฉีกวัคซีนป้องกันล่วงหน้า โดยต้องฉีด 1 ชุด รวมทั้งหมด 6 เข็ม ในเวลา 2 ปีนั้นต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิเป็นประจำปีละครั้ง หลังฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วราว 3 สัปดาห์ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ทัน ให้สวมหน้ากากป้องกันก๊าซพิษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
    การใช้เชื้อแอนแทรกซ์ เป็นอาวุธชีวภาพ สามารถทำได้ โดยการนำเชื้อแอนแทรกซ์ ที่เพาะเลี้ยงไว้ และเก็บในรูปสารละลายมาฉีดพ่นโดยเครื่องบิน หรือใช้ทำเป็นหัวรบ อันนี้ห้ามลอกเลียนแบบนะ....

         พิษบอตทูลินัม (botulinnum) เป็นสารพิษจากจุลินทรีย์ ที่มีความเป็นพิษสูงมาก เหมาะแก่มานำมาใช้คร่าชีวิตมนุษย์ยิ่งนัก พิษชนิดนี้เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสทริเดียม บอตทูลินัม อันเป็นแบคทีเรียที่ทำให้อาหารกระป๋องเน่าเสีย และอาหารเป็นพิษ คงจะแบบว่าทานอาหารกระป๋องที่หมดอายุประมาณนั้น แต่นั่นเป็นพิษในธรรมชาติที่เจือจาง แต่เจ้าพิษที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพนั้น มีความเข้าข้นกว่า ว่ากันว่าพิษนี้เพียงแค่จุดเล็กๆก็สามารถคร่าชีวิตคนตั้ง 10 กว่าคนทีเดียว
    พิษชนิดนี้สามารถซึมซับเข้าทางผิวหนัง และเยื่อบุทางเดินหายใจได้ จึงสามารถแพร่พิษได้ทั้งการฉีด พ่น ให้กระจายในอากาศ เพื่อให้มนุษย์สูดเข้าไป ยังสามารถใส่ในแหล่งน้ำได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นพิษที่ไร้สี ไร้กลิ่น ดังนั้นผู้ที่ถูกพิษนี้จะไม่รู้ตัวจนพิษจะเริ่มแสดงออกในร่างกาย
    พิษบอตทูลินัม จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท อาการของผู้ที่เคราะห์ จะเริ่มตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ระบบประสาทจะถูกทำลาย ร่างกายจะไม่สามารถขับพิษได้เองตามธรรมชาติ และเสียชีวิตในที่สุด
    การแก้พิษทำได้โดยการใช้ยาแก้พิษ โดยการฉีดวัคซีน แต่เนื่องจากพิษชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อยๆอีก ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของแบคทีเรียที่ใช้ผลิต จึงเป็นการยากที่จะเตรียมการป้องกันได้ ในกรณีฉุกเฉินสามารถทำได้โดยการใส่หน้ากากป้องกันก๊าซพิษ เพื่อป้องกันไม่ไห้หายใจเอาหายพิษเข้าไป
    วางใจได้เพราะยังไม่มีรายงานการใช้พิษนี้ในสงครามมาก่อน อีกเหมือนกัน ทั้งหมดนี้ แค่มีข่าวออกมาว่า อิรัก อิหร่าน ซีเรีย ลิเบีย และเกาหลีเหนือ มีอาวุธชีวภาพชนิดนี้ไว้ในครอบครองและพร้อมที่จะใช้ได้ทุกเมื่อ เท่านั้นเองท่านทั้งหลาย

         คลอสทริเดียมเพอร์ฟริงเกนส์ ( clostridium perfringens) เป็นแบคทีเรียสายพันธ์เดียวกับ คลอสทริเดียม บอตทูลินัม โดยเจ้า คลอสทริเดียมเพอร์ฟริงเกนส์ นี้เป็นแบคทีเรียที่ทำให้อาหารกระเป๋าเน่าเสีย และเกิดอาหารเป็นพิษ และถ้าหากว่าเจ้าแบคทีเรียชนิดนี้มันลอง ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบาดแผลของมนุษย์ที่สกปรก และอากาศเข้าไม่ถึงได้แล้วละก็.... พิษของมันจะทำงานทันที โดยจะทำให้เกิดก๊าซในบาดแผล ทำให้แผลบวม และเนื้อเน่าตาย (น่าทรมานจริงๆ) การรักษานั้น แพทย์อาจจะต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งเพิ่อป้องกัน ไม่ให้พิษแพร่กระจายเข้าไปในระบบโลหิต ซึ่งนั่นจะทำให้มนุษย์ผู้ที่ได้รับสารพิษชนิดนี้เน่าตายได้ ขอบอก...
    ยังไม่พบรายงานการใช้สารพิษชนิดนี้ในสงครามใด ไม่แน่ใจว่าทั้งหมดนี้เป็นการขู่ หรือแค่การคาดเดา หรือชี้โพรงให้กระรอกหรือเปล่า.... รู้ไว้ประดับความรู้ละกัน แก้โง่...

         อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เป็นสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา ที่ใช้นามสกุลว่าแอสเพอร์จิลลัส อย่างเช่น แอสเพอร์จิลลัส เฟสวัส (aspergillus Flavus) เชื้อราชนิดนี้มีอยู่ในธรรมชาติ ชอบขึ้นอยู่ตามสินค้าเกษตรที่มีการเก็บรักษาไม่ดี และมีความชื้นเจือปนสูง อันได้แก่ ข้าวโพด ถั่ว และอื่นๆอีก ทั้งยังขึ้นได้ดีในถั่ว พริกป่นที่ใส่ในอาหาร อะฟลาทอกซิน เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เกิดมะเร็งในตับได้
    ยังไม่มีรายงานการใช้พิษชนิดนี้ เป็นอาวุธชีวภาพมากนัก เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง จึงไม่ได้ผลเฉียบพลัน กว่าจะตายกันได้ก็ต้องใช้เวลาสักหน่อย เข้าใจว่าไอ้คนคิดมันคงต้องการให้ตายแบบผ่อนส่ง ว่ากันว่าพบสารพิษชนิดนี้ถูกบรรจุในระเบิดและหัวรบพร้อมใช้งาน ที่แหล่งผลิตอาวุธชีวะภาพในอิรัก นู๊น.....

         ไรซิน (ricin) เป็นสารพิษที่สกัดมาจากเม็ดละหุ่ง ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืช โดยไรซินจะไปยับยั้งการผลิตโปรตีนของเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานของร่างกาย ผู้ที่ได้รับสารพิษชนิดนี้แม้จะไม่ใช่ศัตรูพืช ก็จะเสียชีวิต เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตโปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ยังไม่มีวิธีรักษา แต่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันพิษของไรซิน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า
    อย่าตกอกตกใจ เพราะยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกัยการใช้ไรซิน ในสงคราม นี่แค่ขู่เล่นเฉยๆ แต่รู้จักมันไว้ก็ไม่เสียหายมิใช่หรือ ที่แน่ๆเคยมีการใช้ไรซินในการฆาตกรรมแล้ว โดยใช้ไรซินเคลือบไว้ที่เหล็กปลายแหลม แล้วทิ่มใส่เหยื่อของมัน ก็อย่างที่บอกมนุษย์ชอบเลียนแบบ สักวันอาจจะมีการใช้ไรซินในสงครามชีวภาพก็ได้





    [ชีววิทยา] ไวรัสโรคเอดส์มีกำเนิดมาจากไหน ?

         นักวิจัยชาวอเมริกันพบหลักฐานว่าไวรัสเอชไอวี-1 ที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์นั้นมีต้นกำเนิดมาจากลิงชิมแปนซี

         โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) หรือเรียกย่อๆ ว่าเอชไอวี (HIV) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์หลักดั้งเดิมได้แก่เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง สายพันธุ์เอชไอวี-2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนั้นก็ยังมีสายพันธุ์ ย่อยอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย จึงมีสายพันธุ์ย่อย ๆ เกิดขึ้นอยู่มากมาย

         ไม่มีผู้ใดทราบว่าไวรัสโรคเอดส์นี้มาจากไหนและเริ่มแพร่ระบาดในมนุษย์ตั้งแต่เมื่อใด ได้แกต่สันนิษฐานกันว่าโรคเอดส์นี้น่าจะ มีต้นตอมาจากลิงในทวีปแอฟริกา ต่อมาจึงมีการติดเชื้อไวรัสจากลิงมาสู่คน และมีการวิวัฒนาการจนกลายเป็นสายพันธุ์ที่เป็นอันตราย ต่อมนุษย์

         สาเหตุที่สันนิษฐานกันว่าไวรัสเอชไอวีต้นกำเนิดมาจากลิงนั้นเป็นเพราะว่าในลิงนั้นเป็นเพราะว่าในลิงก็มีโรคเอดส์เหมือนกัน แต่เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ในลิงนั้นไม่เหมือนกับเชื้อไวรัสที่เกิดโรคเอดส์ในคน นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ ในลิงว่าไซเมียนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส (Simian Immunodeficiency Virus, simian แปลว่าลิง) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอสไอวี (SIV) แม้ไวรัสเอชไอวีกับเอสไอวีจะไม่ใช่ไวรัสตัวเดียวกัน แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่ ถือได้ว่าเป็นญาติกัน ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงสันนิษฐานว่าไวรัสเอสไอวีกับเอชไอวีน่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ ไวรัสเอสไอวีที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ในลิงมีการกลายพันธุ์ จนกลายมาเป็นเอชไอวี และการติดต่อมาสู่มนุษย์นั้นน่าจะมีต้นตอมาจากทวีปแอฟริกา เพราะชาวแอฟริกาในบางท้องถิ่นนิยม รับประทานเนื้อลิง แต่การสันนิษฐานนี้หากจะสรุปให้ได้ว่าเป็นความจริงก็จำเป็นต้องมีหลักฐานมาสนับสนุน

         เนื่องจากการกลายพันธุ์ของไวรัสจากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งนั้นจะต้องค่อย ๆ กลายพันธุ์ ซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นปี ๆ ไม่ใช่ กลายพันธุ์อย่างปุบปับ ดังนั้นหลักฐานที่จะมาสนับสนุนว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีกลายพันธุ์มาจากเอสไอวีนั้นก็คือเชื้อไวรัสที่มีลักษณะทาง พันธุกรรมก้ำกึ่งกันระหว่างเชื้อเอสไอวีกับเอชไอวีนั่นเอง ดังนั้นตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามค้นหาเชื้อ ไวรัสที่มีลักษณะทางพันธุกรรมก้ำกึ่งกันดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นจริง

         ในการประชุมทางวิชาการเรื่องเชื้อรีดทรไวรัสและโรคติดเชื้อแทรกซ้อนครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1988 นั้น ฟรังซัว ซีมง นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและคณะได้เสนอรายงานวิจัยเกี่ยวกับการตรวจพบเชื้อไวรัสโรคเอดส์สายพันธุ์ประหลาดที่พบในตัวสตรี ชาวแคเมอรูนรายหนึ่ง เอชไอวีสายพันธุ์ประหลาดที่ว่านี้มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างไวรัสเอดส์ในลิง (เอสไอวี) และในคน (เอชไอวี) ซึ่งงาน วิจัยนี้ถือเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าไวรัสเอชไอวีนั้นมีวิวัฒนาการมาจากเอสไอวี

         และในการประชุมทางวิชาการเรื่องเชื้อรีโทรไวรัสและโรคติดเชื้อแทรกซ้อน ครั้งที่ 6 ที่เพิ่งจัดขึ้นในปีนี้ ดร. บีตทริซ ฮาห์น แห่งมหาวิทยาลัยของรัฐแอละแบมา (University of Alabama) ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้เสนอรายงานการวิจัยที่มีการพิสูจน์ได้ เป็นครั้งแรกว่าเชื้อเอชไอวี-1 นั้นมาจากชิมแปนซี

         ดร. ฮาห์นได้แถลงในที่ประชุมว่าเธอและคณะได้นำตัวอย่างเลือดลิงชิมแปนซีตัวหนึ่งชื่อว่าแมริลีนซึ่งตายในปี ค.ศ. 1984 มา วิเคราะห์ แมริลีนลิงทดลองของศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไพรเมต (ไพรเมตคือชื่อกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงตามวิธีการจำแนกสิ่งมีชีวิต ทางวิทยาศาตร์ ทั้งคนและลิงก็จัดอยู่ในกลุ่มไพรเมตนี้) ของกองทัพอากาศอเมริกัน แม้แมริลีนจะตายหลายปีแล้ว แต่ตัวอย่างเลือด เก็บอยู่ ผลการตรวจเลือดในสมัยนั้นไม่สามารถบอกอะไรได้เป็นเทคนิคการตรวจเลือดยุคนั้นยังไม่ก้าวหน้าทัดเทียมกับในปัจจุบัน จน ดร. ฮาร์นและคณะนำตัวอย่างเลือดนี้มาวิเคราะห์อีกครั้งจึงได้พบว่าในเลือดของแมริลีนไวรัสสายพันธุ์ประหลาดซึ่งมีลักษณะทาง พันธุกรรมก้ำกึ่งระหว่างเอสไอวี เอชไอวี-1 จึงได้ตั้งชื่อว่าเป็นไวรัสเอสไอวีซีพีซี (SIV cpz) ซึ่ง cpz นั้นก็หมายถึงลิงชิมแปนซีนั้นเอง

         นอกจากนี้ ในหลายปีที่ผ่านมา ยังมีรายงานเกี่ยวกับการพบไวรัสที่มีลักษณะทางพันธุกรรมก้ำกึ่งระหว่างเอสไอวีกับเอชไอวี-1 จากตัวอย่างเลือดของลิงชิมแปนซีอีก 3 ครั้ง แต่ไวรัสที่พบทั้ง 3 ครั้งก่อนหน้านี้มีลักษณะทางพันธุกรรมโน้มเอียงมาทางเอชไอวี-1 มากกว่า ส่วนไวรัสเอสไอวีซีพีซีที่มาจากลิงชิมแปนซีชื่อแมริลีนนี้มีลักษณะโน้มเอียงไปทางเอสไอวีมากกว่า
         เมื่อเป็นเช่นนี้ ดร. ฮาห์นและคณะจึงสรุปว่าไวรัสโรคเอดส์เอชไอวี-1 นั้นมีต้นกำเนิดมาจากลิงชิมแปนซี โดยมีหลักฐานคือไวรัส ที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเอสไอวีกับเอชไอวี-1 เป็นไวรัสกลางทางในสายของวิวัฒนาการ

    ดร. ฮาห์นยังให้ความเห็นต่อไปอีกว่า จากธรรมชาติของชาวแอฟริกาที่อยู่ใกล้ชิดกับลิงชิมแปนซีเพราะรับประทานเนื้อของมัน เป็นอาหาร ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีนี้อยู่คู่กับมนุษย์มานานแล้ว คือพูดง่าย ๆ ว่ามนุษย์เป็นโรคเอดส์กันมานานแล้ว อาจเป็นร้อยปีแล้วก็ได้ (ซึ่งค้นกับข้อสันนิษฐาน มนุษย์เพิ่งเป็นโรคเอดส์เมื่อไม่เกิน 50 ปีมานี้เอง) แต่ไม่มีใครรู้ เพราะนิยมรับประทาน เนื้อลิงชิมแปนซีจะอยู่ในดินแดนแถบประเทศแคเมอรูน และอิเควทอเรียลกินี ซึ่งในสมัยก่อนแทบจะเป็นดินแดนปิด โรคเอส์จึงไม่ออก สู่โลกภายนอก ต่อมาเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเคลื่อนย้ายประชากร โรคเอดส์จึงแพร่ระบาดออกจากดินแดนกาฬทวีปและ แพร่กระจายทั่วโลก แต่อย่างไรก็ดี ข้อสันนิษฐานนี้ยังรอการพิสูจน์อยู่

    การที่เรารู้เชื้อเอชไอวี-1 มาจากลิงชิมแปนซีนั้นหลายคนคงคิดว่าความสำคัญอะไร เพราะรู้ไปก็เท่านั้น แต่ความจริงกลับไม่ใช่ ความรู้นี้นับว่ามีความสำคัญทีเดียว เพราะลิงมียีนที่คล้ายมนุษย์ถึงร้อยละ 98 ทีเดียว และเป็นเอดส์จากเชื้อเอชไอวี (แต่เป็นเอดส์จาก เชื้อเอสไอวี) ดังนั้นความสำคัญขึ้นอยู่ที่ว่าทำไมเชื้อเอชไอวีจึงไม่ทำให้ลิงเกิดโรค ถ้าเราไขความลับนี้ได้ เราก็จะมีอาวุธชนิดใหม่ในการ ต่อสู้กับโรคเอดส์ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะได้มาก็จากการที่กลไกของระบบภูมิคุ้มกันในลิงและการวิวัฒนาการของเชื้อเอชไอวีจากลิงมา นั่นเอง

    สำหรับเชื้อเอชไอวี-2 นั้น ขณะนี้เราทราบแล้วว่ามีต้นกำเนิดมาจากลิงชนิดหนึ่งที่เรียกว่าซูตทีแมงกาเบย์ (sooty mangabey)

    วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    [ความเรียงขั้นสูง] การเขียนบรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต



    * Font ในที่นี้ต้องเป็น TH Sarabun PSK ออกแบบโดย คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ และ ต้องเรียงตัวอักษรด้วย [เพื่อนหนิงบอกมา]

    วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    [เคมี] เคมีในชีวิตประจำวัน

    ปฏิกิริยาในแบตเตอรี่

    เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น แบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ประเภทต่างๆ เป็นปฏิกิริยาระหว่างแผ่นตะกั่ว (Pb) ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ (-) และตะกั่วไดออกไซด์ (PbO2) ทำหน้าที่เป็นขั้วบวก (+) กับกรดซัลฟิวริก (H2SO4) เข้มข้นประมาณ 30-38% โดยน้ำหนักเขียนสมการเคมีของปฏิกิริยาได้ดังนี้

    Pb + PbO2 + 2H2SO4 → 2PbSO4 + H2O




         แบตเตอรี่อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าแบตเตอรี่ปรอท เป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กมา เบา จึงนิยมใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เช่น นาฬิกาข้อมือ เครื่องวัดแสงในกล้องถ่ายรูป เครื่องช่วยฟัง เครื่องคิดเลขติดกระเป๋า เป็นต้น ปฏิกิริยาในแบตเตอรี่นี้ มีสังกะสี (Zn) เป็นขั้วลบ (-) และปรอทออกไซด์ (HgO) เป็นขั้วบวก (+) ในสารผสมระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) กับสังกะสีไฮดรอกไซด์ (ZnO) และน้ำ ซึ่งมีลักษณะคล้ายแป้งเปียก เขียนสมการเคมีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้

    Zn + HgO → ZnO + Hg



         นอกจากนี้ยังมีแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ อีก เช่น แบตเตอรี่อัลคาไลน์ แบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม หรือเรียกสั้นๆ ว่า NICAD และแบตเตอรี่ที่ใส่ในตัวคนไข้ที่หัวใจเต้นไม่ปกติ ซึ่งต่างผลิตกระแสไฟฟ้าจากปฏิกิริยาเคมีของโละและเบสที่แตกต่างกันไป


      

    ปฏิกิริยาในน้ำอัดลม

         กรดคาร์บอนิก (H2CO3) ในน้ำอัดลม เมื่อมีการสลายตัวจะให้น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังปฏิกิริยา

    H2CO3(aq) → H2O(l) + CO2(g)



    ปฏิกิริยาในถุงลมนิรภัย [Airbags]

         การสลายตัวของโซเดียมเอไซด์ (NaN3) ได้ถูกนำมาใช้ในถุงลมนิรภัยที่ติดตั้งในรถยนต์ เมื่อมีการเผาไหม้ที่เหมาะสมโซเดียมเอไซด์จะสลายตัวให้แก๊สไนโตรเจน(N2) ออกมาในถุงลมนิรภัย ดังปฏิกิริยา

    2NaN3(s) → 2Na(s) + 2N2(g)

    วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    [นาฏศิลป์] รำแม่บทเล็ก


    ทำนองเพลง ชมตลาด

    เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน (โบก)
    ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเลียบถ้ำอำไพ(โบก) ท่ารับผาลา
    อีกช้านางนอนภมรเคล้า แขกเต้าผาลาเพียงไหล่ (โบก)
    เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในนภาพร(โบก) ท่ารับจีบยา
    ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต อีกทั้งพิศมัยเรียงหมอน(โบก)
    ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์(โบก) ท่ารับสอดสร้อย

    วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

    วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

    [ทฤษฎีความรู้] การจัดการความรู้

    ข้อมูล (Data)
    ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
    สารสนเทศ (Information)
    ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมาย
    ความรู้ (Knowledge)
    ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศ โดยมีการจัดระบบความคิดเกิดเป็น “ความรู้และความเชี่ยวชาญ”
    ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
    การนำเอาความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่าง ๆ
    เชาวน์ปัญญา (Intelligence)
    ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิด ความคิดที่ฉับไว

    by 

    *เรียงลำดับตามนี้

    Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More